ยอดยกมาเจ้าหนี้
ยอดยกมาเจ้าหนี้ หมายถึง กระบวนการบันทึกข้อมูลยอดหนี้สินที่ธุรกิจยังคงต้องชำระให้กับผู้ขาย (Supplier) หรือเจ้าหนี้ ณ จุดเริ่มต้นของการใช้งานระบบบัญชีใหม่ หรือการบันทึกข้อมูลจากระบบบัญชีเก่าเข้าสู่ระบบใหม่ เพื่อให้สามารถติดตามและบริหารจัดการหนี้สินได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง
วัตถุประสงค์ของการบันทึกยอดยกมาเจ้าหนี้
- การติดตามหนี้สินที่ยังค้างชำระ ทำให้ธุรกิจสามารถติดตามหนี้ที่ยังไม่ได้ชำระให้กับผู้ขายหรือเจ้าหนี้ได้อย่างถูกต้อง
- ความต่อเนื่องในการจัดการบัญชี หากธุรกิจเพิ่งเริ่มใช้งานระบบบัญชีใหม่ การบันทึกยอดยกมาจะช่วยให้ข้อมูลหนี้สินคงค้างถูกนำเข้าสู่ระบบใหม่อย่างสมบูรณ์
- การตรวจสอบและบริหารจัดการการชำระหนี้ ข้อมูลยอดยกมาจะช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนและจัดการการชำระหนี้ในอนาคตได้ดียิ่งขึ้น
ขั้นตอนการทำยอดยกมาเจ้าหนี้
เข้าสู่เมนู ยอดยกมาเจ้าหนี้
คลิกที่เมนู ยอดยกมาเจ้าหนี้
คลิกปุ่มเพิ่ม
คลิกที่ปุ่ม เพิ่ม
เพื่อสร้างรายการใหม่สำหรับการบันทึกยอดยกมาลูกหนี้
กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
- เล่ม ระบุเล่มที่ใช้ในการออกเอกสาร (ไม่สามารถแก้ไขได้)
- เลขที่เอกสาร หมายเลขที่ใช้ระบุเอกสารเฉพาะ (ไม่สามารถแก้ไขได้)
- วันที่เอกสาร วันที่ที่เอกสารถูกสร้างขึ้น
- รหัสลูกค้า รหัสเฉพาะของลูกค้าที่ใช้ในการอ้างอิงในระบบ
- ชื่อลูกค้า กรอกชื่อของลูกค้าที่ทำธุรกรรม
- เดือนที่ใช้ภาษี เลือกเดือนที่จะใช้เอกสารนี้ในการยื่นภาษี
- ประเภทภาษี เลือกประเภทภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น 7.00%
- VAT แยกนอก ระบุว่า VAT จะแยกออกจากราคาหรือรวมอยู่ในราคาสินค้า (Y หรือ N)
- หน่วยเงิน เลือกสกุลเงินที่ใช้ในการทำธุรกรรม เช่น THB (บาทไทย)
- อัตราแลกเปลี่ยน หากใช้สกุลเงินต่างประเทศ ให้ระบุอัตราแลกเปลี่ยน
- หมายเหตุ ระบุคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการนี้
- ส่วนลด ระบุเปอร์เซ็นต์หรือจำนวนเงินส่วนลด
- มูลค่าส่วนลด คำนวณมูลค่าส่วนลดทั้งหมด
- VAT Table แสดงมูลค่า VAT ที่เกี่ยวข้องกับรายการ
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม คำนวณมูลค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายการสินค้า
- ยอดชำระ ยอดเงินสุทธิที่ต้องชำระหลังจากรวมส่วนลดและภาษี
กดบันทึก
เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้กดปุ่ม บันทึก
เพื่อทำการบันทึกข้อมูล
ตรวจสอบข้อมูล
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมด เช่น เลขที่เอกสาร
วันที่
ชื่อลูกค้า
รายละเอียดสินค้า
ยอดเงิน
และภาษีมูลค่าเพิ่ม
ถูกต้องครบถ้วน หากพบข้อผิดพลาดก็สามารถทำการแก้ไขเอกสารได้