คู่มือการตั้งค่าข้อมูลกิจการ
1. ข้อมูลกิจการ
เพิ่มข้อมูลพื้นฐานของกิจการที่จำเป็นเพื่อใช้ในการดำเนินการทางบัญชีและการออกเอกสาร โดยรายละเอียดที่ต้องกรอกมีดังนี้
- อัปโหลดโลโก้บริษัท คุณสามารถอัปโหลดโลโก้ของบริษัทที่ขนาดไม่เกิน 150 kb เพื่อแสดงในเอกสารต่าง ๆ เช่น ใบแจ้งหนี้ หรือใบเสร็จรับเงิน
- อัปโหลดตราประทับ คุณสามารถอัปโหลดตราประทับที่ขนาดไม่เกิน 150 kb เพื่อแสดงในเอกสารต่าง ๆ เช่น ใบสั่งซื้อ หรือใบเสนอรอคา
- รหัสบริษัท ระบุรหัสบริษัทที่ไม่ซ้ำกัน (เมื่อบันทึกแล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้)
- รหัสสาขา กำหนดรหัสสาขาของบริษัท (เมื่อบันทึกแล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้)
- ชื่อบริษัท (TH) กรอกชื่อบริษัทตามที่จดทะเบียนไว้ เพื่อให้แสดงในเอกสารและรายงานต่างๆ
- ชื่อบริษัท (EN) ชื่อบริษัทในภาษาอังกฤษสำหรับเอกสารระหว่างประเทศ
2. รายละเอียดที่อยู่สำหรับส่ง e-Tax EIPP
ผู้ใช้งานจะต้องกรอกข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการออกใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยข้อมูลที่จำเป็นมีดังนี้
- เลขที่, ซอย, ถนน ระบุข้อมูลที่อยู่ของบริษัทตามจริง
- ตำบล/แขวง, อำเภอ/เขต, จังหวัด กรอกข้อมูลตามสถานที่ตั้งของกิจการ
- รหัสไปรษณีย์ รหัสไปรษณีย์ของสถานที่ตั้งบริษัท
3. ข้อมูลที่อยู่
ข้อมูลที่อยู่ของกิจการ ซึ่งจะนำไปใช้ในการแสดงผลในเอกสารทางบัญชีต่าง ๆ เช่น ใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงิน รายละเอียดประกอบไปด้วย
- เลขที่, ซอย, ถนน ระบุข้อมูลที่อยู่ของบริษัทตามจริง
- ตำบล/แขวง, อำเภอ/เขต, จังหวัด กรอกข้อมูลตามสถานที่ตั้งของกิจการ
- รหัสไปรษณีย์ รหัสไปรษณีย์ของสถานที่ตั้งบริษัท
4. ข้อมูลผู้ประกอบการ
การตั้งค่าข้อมูลผู้ประกอบการ ควรกรอกข้อมูลอย่างครบถ้วนเพื่อให้ระบบสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ รายละเอียดประกอบไปด้วย
- ชื่อผู้ประกอบการ กรอกชื่อผู้ประกอบการตามที่จดทะเบียนไว้
- ชื่อผู้ประกอบการ (EN) กรอกชื่อผู้ประกอบการตามที่จดทะเบียนไว้
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีที่ได้รับจากกรมสรรพากร
- รอบระยะเวลาบัญชี กำหนดรอบระยะเวลาการปิดบัญชีของบริษัท เช่น เริ่มต้น 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม
นอกจากนี้ยังมีการตั้งค่าข้อมูลเพิ่มเติม:
- วันที่เริ่มใช้ระบบ วันที่บริษัทเริ่มใช้ระบบบัญชี
- อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ระบุอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริษัทใช้อยู่
- ยอดขายภาษีแรก กรอกยอดขายเริ่มต้นที่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
- เมื่อกรอกข้อมูลครบถ้วนแล้ว ให้ทำการบันทึกเพื่อให้ระบบสามารถนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการดำเนินงานได้อย่างสมบูรณ์
5. การตั้งค่าทศนิยม
การตั้งค่าทศนิยม ใช้ในกรณีแสดง จำนวนสินค้า, ราคาสินค้า หรือ หน่วยนับของสินค้า
5. การตั้งค่ารูปแบบภาษีและวิธีการบันทึกบัญชี
เลือกประเภทกิจการ
- บุคคลธรรมดา บุคคลที่ทำธุรกิจในนามตัวเอง ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล เสียภาษีตามรายได้ส่วนบุคคล
- นิติบุคคล ธุรกิจที่จดทะเบียนตามกฎหมาย เช่น บริษัท หรือห้างหุ้นส่วน ต้องเสียภาษีนิติบุคคล
- นิติบุคคลต่างประเทศ ธุรกิจจากต่างประเทศที่เข้ามาทำกิจการในไทย ต้องปฏิบัติตามกฎหมายภาษีทั้งในและนอกประเทศ
เลือกประเภทจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
- ไม่เข้าข่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนหรือชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
- อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการที่ต้องจดทะเบียนและเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
เลือกรูปแบบภาษี
- VAT รวมใน ภาษีมูลค่าเพิ่มถูกรวมอยู่ในราคาสินค้าหรือบริการแล้ว
- VAT แยกนอก ภาษีมูลค่าเพิ่มถูกแยกออกจากราคาสินค้าหรือบริการ
เลือกประเภทการบันทึกรายการบัญชีสินค้าสำเร็จรูป
- แบบสิ้นงวด การบันทึกบัญชีสินค้าสำเร็จรูปจะทำเมื่อสิ้นสุดงวดบัญชี เช่น เมื่อสิ้นเดือนหรือสิ้นไตรมาส จะทำการคำนวณต้นทุนและบันทึกยอดรวมทั้งหมดในครั้งเดียว วิธีนี้เหมาะสำหรับธุรกิจที่ไม่ต้องการติดตามการเคลื่อนไหวของสินค้าอย่างละเอียดในแต่ละวัน
- แบบต่อเนื่อง การบันทึกบัญชีสินค้าสำเร็จรูปจะทำทุกครั้งที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้า เช่น เมื่อมีการผลิตสินค้าใหม่ ขาย หรือโอนย้ายสินค้า วิธีนี้ช่วยให้สามารถติดตามสถานะของสินค้าได้แบบเรียลไทม์และแม่นยำ เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการตรวจสอบสต็อกสินค้าอย่างละเอียด
เลือกประเภทการบันทึกบัญชีวัตถุดิบ
- แบบสิ้นงวด การบันทึกบัญชีวัสดุจะทำเมื่อสิ้นสุดงวดบัญชี เช่น สิ้นเดือนหรือสิ้นไตรมาส โดยจะคำนวณและบันทึกข้อมูลวัสดุที่ใช้ไปทั้งหมดในครั้งเดียว ซึ่งเหมาะกับธุรกิจที่ไม่ต้องการติดตามการเคลื่อนไหวของวัสดุในแต่ละวัน
- แบบต่อเนื่อง การบันทึกบัญชีวัสดุจะทำอย่างต่อเนื่องทุกครั้งที่มีการใช้วัสดุ เช่น เมื่อมีการสั่งซื้อหรือใช้วัสดุ วิธีนี้จะช่วยให้สามารถติดตามสถานะและจำนวนวัสดุได้แบบเรียลไทม์ เหมาะกับธุรกิจที่ต้องการความแม่นยำในการควบคุมวัสดุคงเหลือ
เลือกประเภทการตีราคาสินค้าสำเร็จรูปคงเหลือ
-
เข้าก่อนออกก่อน (FIFO - First In, First Out) สินค้าที่ซื้อเข้ามาหรือผลิตก่อน จะถูกขายออกหรือใช้ก่อน วิธีนี้จะทำให้สินค้าคงเหลือในสต็อกมีราคาต้นทุนที่อิงตามราคาของสินค้าที่เข้ามาหลังสุด เหมาะกับสินค้าที่มีอายุการเก็บรักษาไม่นาน เช่น สินค้าที่มีวันหมดอายุ
-
ถัวเฉลี่ย (Weighted Average) ต้นทุนของสินค้าคงเหลือจะคำนวณโดยใช้ต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของสินค้าทั้งหมดในสต็อก ซึ่งจะช่วยให้ราคาสินค้ามีความเสถียรและเหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการกระจายความผันผวนของราคาต้นทุน
เลือกประเภทการตีราคาวัตถุดิบคงเหลือ
-
เข้าก่อนออกก่อน (FIFO - First In, First Out) วัตถุดิบที่ซื้อเข้ามาก่อนจะถูกใช้ก่อน ซึ่งหมายความว่าต้นทุนของวัตถุดิบที่เหลืออยู่ในสต็อกจะอิงกับราคาของวัตถุดิบที่เข้ามาหลังสุด วิธีนี้มักใช้สำหรับวัตถุดิบที่มีอายุการเก็บรักษาไม่นาน
-
ถัวเฉลี่ย (Weighted Average) ต้นทุนของวัตถุดิบจะคำนวณเป็นต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของวัตถุดิบทั้งหมดในสต็อก ซึ่งช่วยกระจายความผันผวนของราคาต้นทุน เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องการความเสถียรในการคำนวณต้นทุน
Lock Transaction
-
ล็อค (Lock) เมื่อทำการล็อคธุรกรรมแล้ว จะไม่สามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายการธุรกรรมในช่วงเวลาที่กำหนดได้ ซึ่งเหมาะสำหรับการป้องกันการเปลี่ยนแปลงข้อมูลที่สำคัญหลังจากทำการปิดบัญชีหรือรายงานไปแล้ว
-
ปลดล็อค (Unlock) เมื่อทำการปลดล็อค จะสามารถแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรายการธุรกรรมได้อีกครั้ง โดยเหมาะสำหรับการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือปรับปรุงข้อมูลที่จำเป็น