ซื้อสด (ออกใบกำกับภาษี/ใบส่งของ/ใบเสร็จรับเงิน)
เป็นขั้นตอนการซื้อสินค้าแบบชำระเงินทันที โดยจะออกใบกำกับภาษี ใบส่งของ และใบเสร็จรับเงินในกระบวนการเดียวกัน ซึ่งใช้สำหรับการซื้อขายที่ไม่มีการจ่ายเป็นเครดิต
ขั้นตอนการสร้างใบซื้อสด
1. ขั้นตอนการสร้างใบซื้อสด
เข้าสู่เมนูใบซื้อสด
เข้าไปที่เมนู Procure to Pay
และเลือกเมนู ซื้อสด (ออกใบกำกับภาษี/ใบส่งของ/ใบเสร็จรับเงิน)
คลิกปุ่มเพื่ม
คลิกที่ปุ่ม เพิ่ม
เพื่อสร้างรายการใหม่สำหรับการสร้างเอกสารใบซื้อสด
กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
ฟิลด์ | คำอธิบาย |
---|---|
เล่ม | ระบุเล่มที่ใช้ในการออกเอกสาร (ไม่สามารถแก้ไขได้) |
เลขที่เอกสาร | หมายเลขที่ใช้ระบุเอกสารเฉพาะ (ไม่สามารถแก้ไขได้) |
วันที่เอกสาร | วันที่ที่เอกสารถูกสร้างขึ้น |
รหัสผู้จำหน่าย | รหัสของผู้จำหน่าย ซึ่งเป็นหมายเลขประจำตัวของผู้จำหน่ายที่ระบบสร้างขึ้นหรือผู้ใช้กำหนดไว้ |
ชื่อผู้จำหน่าย | เลิอกชื่อลูกค้าที่ทำธุรกรรม |
เดือนที่ใช้ภาษี | เลือกเดือนที่ใช้ภาษี |
ภาษีซื้อ | ประเภทภาษีซื้อ เคลมภาษีซื้อ ภาษีไม่ขอคืน บันทึกภาษีซื้อเป็นค่าใช้จ่าย ภาษีซื้อไม่ถึงกำหนด |
ค้นหาเอกสาร PO | ใช้สำหรับค้นหาเอกสาร PO ที่ต้องการทำการซื้อสด |
ค้นหาเอกสารรับสินค้า | ใช้สำหรับค้นหาเอกสารรับสินค้าที่ต้องการทำการซื้อสด |
เลขที่อ้างอิง(ผู้จำหน่าย) | หมายเลขอ้างอิงที่ผู้จำหน่ายกำหนด (อาจเป็นหมายเลขใบแจ้งหนี้หรือเอกสารอื่น ๆ) |
ประเภทภาษี | เลือกประเภทภาษีที่เกี่ยวข้อง เช่น 7.00% |
VAT แยกนอก | ระบุว่า VAT จะแยกออกจากราคาหรือรวมอยู่ในราคาสินค้า (Y หรือ N) |
หน่วยเงิน | เลือกสกุลเงินที่ใช้ในการทำธุรกรรม เช่น THB (บาทไทย) |
อัตราแลกเปลี่ยน | หากใช้สกุลเงินต่างประเทศ ให้ระบุอัตราแลกเปลี่ยน |
เงื่อนไขการจ่ายเงิน (วัน) | ระยะเวลาในการชำระเงิน |
วันครบกำหนดชำระ | วันที่ที่ต้องชำระเงินตามเงื่อนไข |
หมายเหตุ | ระบุคำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายการนี้ |
คลัง | ระบุคลังสินค้าหรือสถานที่จัดเก็บสินค้าหลังจากได้รับจากผู้จำหน่าย |
รหัสสินค้า | รหัสประจำตัวของสินค้าหรือบริการ ซึ่งใช้เพื่อระบุสินค้าอย่างชัดเจน |
ชื่อสินค้า/บริการ | ชื่อของสินค้า/บริการที่ต้องการสั่งซื้อ |
รายละเอียดสินค้า | เป็นฟิลด์ที่แสดงข้อมูลเชิงลึกของสินค้าหรือบริการ |
จำนวน | ระบุจำนวนของสินค้าหรือบริการที่ต้องการสั่งซื้อ |
หน่วยนับ | ระบุหน่วยนับที่ใช้ในการสั่งซื้อ |
ราคาต่อหน่วย | ราคาในแต่ละหน่วยของสินค้าที่สั่งซื้อ |
VAT % | เปอร์เซ็นต์ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่ใช้กับรายการสินค้า เช่น 7.00% ซึ่งเป็นอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้ในประเทศไทย |
WHT% | กรณีที่ค่าใช้จ่ายบางรายการมี ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในอัตราที่ต่างกัน กรอกอัตราที่ถูกต้องลงในช่องนี้ |
ราคารวม | ราคารวมของสินค้าหรือบริการในแต่ละรายการ ซึ่งรวม VAT แล้ว โดยคำนวณจากราคาต่อหน่วย * จำนวน + VAT |
ส่วนลด | ระบุเปอร์เซ็นต์หรือจำนวนเงินส่วนลด |
มูลค่าส่วนลด | คำนวณมูลค่าส่วนลดทั้งหมด |
VAT Table | แสดงมูลค่า VAT ที่เกี่ยวข้องกับรายการ |
ภาษีมูลค่าเพิ่ม | คำนวณมูลค่าภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายการสินค้า |
ยอดชำระ | ยอดเงินสุทธิที่ต้องชำระหลังจากรวมส่วนลดและภาษี |
บันทึกเอกสารใบซื้อสด
ตรวจสอบข้อมูล จากนั้นกด บันทึก
ตรวจสอบข้อมูล
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมด เช่น วันที่
ชื่อผู้จำหน่าย
ยอดเงิน
และภาษีมูลค่าเพิ่ม
ถูกต้องครบถ้วน หากพบข้อผิดพลาดก็สามารถทำการแก้ไขเอกสารได้
2. ขั้นตอนการสร้างใบซื้อสด โดยค้นหาจากเอกสาร PO
ค้นหาเอกสาร PO
กดปุ่ม ค้นหาเอกสาร PO
เพื่อเริ่มต้นการดึงข้อมูลใบสั่งซื้อจากระบบ หลังจากกดค้นหา ระบบจะแสดงรายการใบสั่งซื้อ (PO) ที่มีอยู่ พร้อมกับรายละเอียดจากเอกสารที่เคยบันทึกไว้ เพื่อให้คุณสามารถเลือกใช้งานได้ตามต้องการ
บันทึกเอกสาร
ตรวจสอบข้อมูล จากนั้นกด บันทึก
ตรวจสอบข้อมูล
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลทั้งหมด เช่น วันที่
ชื่อผู้จำหน่าย
ยอดเงิน
และภาษีมูลค่าเพิ่ม
ถูกต้องครบถ้วน หากพบข้อผิดพลาดก็สามารถทำการแก้ไขเอกสารได้
3. คู่มือการ Import เอกสาร BRM เข้าระบบ Daccount
เข้าสู่เมนู Import File
คลิกที่เมนู Import File
การเตรียมไฟล์ CSV สำหรับ Import
คุณต้องดาวน์โหลดไฟล์ CSV สองประเภทสำหรับการนำเข้าเอกสาร BRM
- formatImport_STD_for_Daccount_BRM_vatitem.csv ใช้ในการนำเข้าข้อมูลเกี่ยวกับใบกำกับภาษีและรายละเอียดสินค้าหรือบริการ
- formatImport_STD_for_Daccount_BRMPayment.csv ใช้ในการนำเข้าข้อมูลการชำระเงินที่เกี่ยวข้องกับใบกำกับภาษี
รายละเอียดของคอลลัมน์ในไฟล์ CSV
คอลลัมน์ในไฟล์ formatImport_STD_for_Daccount_BRM_vatitem.csv
ฟิลด์ | คำอธิบาย |
---|---|
COMPANY_CODE | รหัสบริษัท (ให้ใส่ @01) |
ORGANIZE_CODE | รหัสบริษัทที่เข้าทำงาน |
อีเมลที่ทำการ import | |
ลำดับ | จัดลำดับข้อมูลรายละเอียดสินค้า/บริการ ถ้าเป็นเอกสารเดียวกันให้ใช้ลำดับเดียวกัน |
รหัสเอกสาร | รหัสของเอกสาร |
วันที่เอกสาร | วันที่เอกสาร (DD/MM/YYYY) |
วันที่ยื่นภาษี | วันที่ยื่นภาษี (DD/MM/YYYY) |
วันที่ครบกำหนด | วันที่ครบกำหนดชำระ (DD/MM/YYYY) |
เลขที่อ้างอิง | เลขใบกำกับภาษี |
รหัสลูกค้า | โปรดกรอกรหัสลูกค้า หากไม่มีรหัสให้ใส่ 0000000000000 |
ชื่อลูกค้า | ชื่อลูกค้า |
เลขผู้เสียภาษีของลูกค้า | เลขผู้เสียภาษีของลูกค้า |
รหัสสาขาของลูกค้า | รหัสสาขาของลูกค้า |
ชื่อสาขาของลูกค้า | ชื่อสาขาของลูกค้า |
เครดิตเทอมของลูกค้า | เครดิตเทอมของลูกค้า |
สกุลเงิน | โปรดระบุรหัสสกุลเงิน โดยใช้ 1 สำหรับ THB และ 2 สำหรับ USD |
อัตราแลกเปลี่ยน | อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา |
ประเภทภาษี | โปรดระบุประเภทภาษี เช่น 1 = 7%, 2 = 1.5%, 3 = 0%, 4 = ไม่มี VAT, 5 = 10%, x = vatitem |
รูปแบบภาษี | โปรดเลือกวิธีการคำนวณภาษี โดยใช้ N สำหรับแยกภาษี และ Y สำหรับรวมภาษี |
ส่วนลดเป็นจำนวนเงิน | ส่วนลดทั้งบิล |
มูลค่าสินค้าไม่รวม VAT | มูลค่าสินค้าไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม |
มูลค่า VAT | มูลค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม |
ประเภท | โปรดระบุประเภทของรายการ โดยใช้ 1 สำหรับสินค้า และ 3 สำหรับบริการ |
รหัสบาร์โค้ดสินค้า | รหัสบาร์โค้ดสินค้า |
รหัสสินค้า | รหัสสินค้า |
ชื่อสินค้า | ชื่อสินค้า |
จำนวน | จำนวนสินค้า |
ราคาต่อหน่วย | ราคาต่อหน่วย |
หน่วยนับ | หน่วยนับของสินค้า |
ส่วนลดแต่ละรายการสินค้า | ส่วนลดของแต่ละรายการ |
รายละเอียดสินค้า | รายละเอียดของสินค้า |
หมายเหตุ | หมายเหตุที่หัวเอกสาร |
ประเภทภาษี (เฉพาะสำหรับฟีเจอร์ VAT ระดับรายการสินค้า) | โปรดระบุประเภทภาษี เช่น 1 = 7%, 2 = 1.5%, 3 = 0%, 4 = ไม่มี VAT, 5 = 10% |
มูลค่า VAT (เฉพาะสำหรับฟีเจอร์ VAT ระดับรายการสินค้า) | กรอกมูลค่า VAT ที่เกี่ยวข้องกับสินค้ารายการนั้น |
- คอลลัมน์ในไฟล์ formatImport_STD_for_Daccount_BRMPayment.csv
ฟิลด์ | คำอธิบาย |
---|---|
COMPANY_CODE | รหัสบริษัท |
ORGANIZE_CODE | รหัสหน่วยงาน |
อีเมลที่ใช้ในการนำเข้าข้อมูล | |
ประเภทเอกสารใบเสร็จที่อ้างอิงถึง | ระบุประเภทเอกสารใบเสร็จที่อ้างอิงถึง เช่น เลขที่อ้างอิง หรือ เลขที่ใบกำกับภาษี |
ประเภทชำระเงิน | ระบุวิธีการชำระเงิน: Cash = เงินสด, Transfer = โอนเงิน, CreditCard = ชำระด้วยบัตรเครดิต |
หมายเลขบัตร/บัญชี | หมายเลขบัตร หรือ หมายเลขบัญชี (ใช้ในกรณีเงินโอน หรือชำระด้วยบัตรเครดิต) |
ยอดเงินที่ตัดชำระ | จำนวนเงินที่ทำการตัดชำระ |
ขั้นตอนการนำเข้าข้อมูลเข้าสู่ระบบ
- กดปุ่ม
Upload Data
เพื่อเลือกไฟล์ที่ต้องการนำเข้าสู่ระบบ (ไฟล์จะต้องอยู่ในรูปแบบ .csv และจัดรูปแบบตามที่กำหนด) - โปรดตรวจสอบข้อมูลให้ครบถ้วนก่อนดำเนินการนำเข้า เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น
- เมื่อเลือกไฟล์เรียบร้อยแล้ว ให้กดปุ่ม
Import Data
เพื่อเริ่มกระบวนการนำเข้าข้อมูล - ระบบจะแสดงผลการนำเข้าข้อมูลและสถานะของการดำเนินการ
การนำเข้าข้อมูลเสร็จสมบูรณ์
- โปรดตรวจสอบข้อมูลเพื่อยืนยันว่ากระบวนการนำเข้าข้อมูลเสร็จสมบูรณ์และถูกต้องตามที่ต้องการ
การแก้ไขปัญหาเบื้องต้น:
- หากมีข้อผิดพลาดในการนำเข้า โปรดตรวจสอบรูปแบบของวันที่ให้เป็น DD/MM/YYYY และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลภาษี
- ตรวจสอบว่าข้อมูลที่จำเป็น เช่น รหัสลูกค้า, ชื่อลูกค้า, หรือยอดเงินนั้นมีการกรอกครบถ้วนและถูกต้อง